วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)


คณะรัฐมนตรี (อังกฤษ: Cabinet) มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย อันประกอบด้วย หัวหน้าคณะ 1 คน ซึ่งมักเรียกว่า นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอื่น ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องคณะรัฐมนตรี หรือที่หลายคนเรียกว่า คณะรัฐบาล คือ กลุ่มบุคคล ผู้ดำรงอยู่ในตำแหน่งอันทรงเกียรติ มีอำนาจในการบริหารประเทศ เป็นที่น่าภาคภูมิใจในสายตาของคนทั่วไป การดำเนินการใดๆของคณะรัฐมนตรีนี้ ย่อมส่งผลกระทบโดยรวมต่อประชาชนในภาพทั้งประเทศ ดังนั้นจึงถือเป็นคณะบุคคลที่มีความสำคัญสูงสุดในการที่จะนำประเทศไปสู่ทิศทางใดคณะรัฐมนตรี ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อทําหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน. [1]รัฐมนตรี ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง ผู้เป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรี หรือ คณะรัฐบาล รับผิดชอบร่วมกับ คณะรัฐมนตรีในนโยบายทั่วไปของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน, ถ้าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง หรือทบวง ก็เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในกระทรวงหรือทบวงที่ตนว่าการ และรับผิดชอบในการบริหารราชการกระทรวงหรือทบวงนั้นด้วยอีกฐานะหนึ่ง (คำว่ารัฐมนตรีนี้ในสมัยโบราณ หมายถึง ที่ปรึกษาราชการบ้านเมืองในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์). [2] รัฐมนตรี (Minister) ของกระทรวงต่างๆนี้ เมื่อได้รับการแต่งตั้งครบทุกกระทรวงตามจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินร่วมกันนี้ในฐานะผู้นำในการบริหารประเทศ ก็จะเรียกรวมกันว่าเป็น คณะรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรี (Cabinet) จึงเป็นคณะบุคคลที่ประกอบด้วยบุคคลผู้มีตำแหน่งต่างๆกันหลายคน มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา (3)ตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย อันประกอบด้วย หัวหน้าคณะ 1 คน ซึ่งมักเรียกว่า นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอื่น ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะ มีอำนาจเรียกประชุม กำหนดเรื่องที่จะประชุม เป็นประธานในที่ประชุม และขอมติจากที่ประชุม ตลอดจนบังคับบัญชา หรือสั่งการในเรื่องต่างๆองค์ประกอบของคณะรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญในอดีตกำหนดจำนวนรัฐมนตรีไว้แตกต่างกัน ซึ่งปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา171 ได้กำหนดให้คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน รวมคณะรัฐมนตรีทั้งคณะไม่เกิน 36 คน[4] คณะรัฐมนตรีในที่นี้ อาจประกอบด้วย รัฐมนตรีประเภทต่างๆได้แก่ นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีว่าการทบวง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง และรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง[5] ซึ่งจะมีจำนวนมากน้อยเท่าใดก็ได้ แต่จำนวนรวมกันต้องไม่เกินจำนวนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด (กรณีที่ แต่งตั้งบุคคลคนเดียวให้ดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่ง จะยึดจำนวนคนเป็นหลักไม่ใช่นับตามตำแหน่ง เช่น เป็นทั้งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ก็จะนับว่าเท่ากับคนเดียว)ความสำคัญของคณะรัฐมนตรี ในฐานะผู้ที่มีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินซึ่งมีอำนาจสูงสุดในแต่ละหน่วยงาน จึงอาจสรุปว่า คณะรัฐมนตรีมีความสำคัญใน 3 ด้าน[6] คือ1. ด้านกฎหมาย โดยมีอำนาจหน้าที่ในการเป็นผู้ใช้กฎหมายโดยตรง และเป็นผู้เสนอกฎหมายต่างๆเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารกิจการราชการต่างๆของประเทศให้เป็นไปโดยราบรื่น2. ด้านนโยบายการเมือง[7] คณะรัฐมนตรีนั้นเป็นองค์กรสูงสุดที่มีกำหนดนโยบายทั้งระดับภายในและภายนอกประเทศ โดยภายในประเทศเป็นผู้กำหนดการบริหารราชการแผ่นดินโดยตรง ส่วนภายนอกประเทศมีอำนาจกระทำการผูกพันในฐานะตัวแทนของรัฐหรือประเทศและมีผลผูกพัน3. ด้านอำนาจ ถือเป็นองค์กรที่มีอำนาจทางด้านการบริหาร ซึ่งมีอำนาจกำหนดนโยบายต่างๆซึ่งเท่ากับเป็นการกำหนดทิศทางของประเทศ และยังมีอำนาจบังคับบัญชาสั่งการข้าราชการซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาในทุกระดับทั่วประเทศ ดังนั้นอำนาจที่มากมายเหล่านี้ย่อมกระทบต่อประชาชนโดยรวมอย่างกว้างขวาง ผู้ใช้อำนาจจึงควรใช้อำนาจด้วยความเป็นธรรม ตามหลัก ธรรมาภิบาลคณะรัฐมนตรีนั้น กฎหมายถือว่า เป็นข้าราชการประเภทหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าเป็น "ข้าราชการการเมือง" ซึ่งเข้ารับตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุทางการเมือง จะต่างจากข้าราชการประจำทั่วๆไป ดังนั้น คำว่า "คณะรัฐมนตรี" เป็นคำที่ใช้ ในกฎหมาย มุ่งหมายถึงเฉพาะข้าราชการการเมืองผู้มีตำแหน่งรัฐมนตรีดังกล่าว ตรงกับที่ใช้ในภาษาอังกฤษว่า "Council of Ministers" หรือ "Cabinet" ยังมีอีกคำหนึ่งที่ใช้ควบคู่กันคือคำว่า "รัฐบาล" หรือ "Government" ในบางครั้งคณะรัฐมนตรีและรัฐบาลมีความหมายอย่างเดียวกัน แต่ บางครั้ง คำว่ารัฐบาลอาจมีความหมายกว้างกว่านั้น เพราะอาจรวมไปถึงข้าราชการประจำและเจ้าหน้าที่ทั้งหลายของฝ่ายบริหาร อีกด้วย เพื่อแยกให้ เห็นว่า เป็นคนละฝ่ายกับภาคเอกชน และคนละฝ่ายกับสมาชิกรัฐสภา จึงอาจกล่าวได้ว่านายกรัฐมนตรีอยู่ในฐานะที่เป็นทั้งหัวหน้าของคณะรัฐมนตรีและหัวหน้ารัฐบาลไปพร้อมๆกันคณะรัฐมนตรี ชุดปัจจุบันนายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะรองนายกรัฐมนตรีนายสุเทพ เทือกสุบรรณนายไตรรงค์ สุวรรณคีรพลตรี สนั่น ขจรประศาสน์รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีินายองอาจ คล้ามไพบูลย์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนายกรณ์ จาติกวณิชรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์นายมั่น พัธโนทัยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนายกษิต ภิรมย์์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นายอิสสระ สมชัยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬานายชุมพล ศิลปอาชารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายธีระ วงศ์สมุทรรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายศุภชัย โพธิ์สุรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมนายโสภณ ซารัมย์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมนายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร์นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนายจุติ ไกรกฤษ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานนายวรรณรัตน์ ชาญนุกูลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์นางพรทิวา นาคาศัยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์นายอลงกรณ์ พลบุตรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนายชวรัตน์ ชาญวีรกูลรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยนายถาวร เสนเนียมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมนายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาคย์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนายวีระชัย วีระเมธีกุลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนายชินวรณ์ บุญยเกียรติรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการนายไชยยศ จิรเมธากรนางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัฒน์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนายสุวิทย์ คุณกิตติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานนายเฉลิมชัย ศรีอ่อนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขนางพรรณสิิริ กุลนาถศิริ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น